วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2552

ดูหนังออนไลน์ ทวิภพ


ดูหนังออนไลน์ ทวิภพ - 1/12


ดูหนังออนไลน์ ทวิภพ - 2/12


ดูหนังออนไลน์ ทวิภพ - 3/12


ดูหนังออนไลน์ ทวิภพ - 4/12


ดูหนังออนไลน์ ทวิภพ - 5/12


ดูหนังออนไลน์ ทวิภพ - 6/12


ดูหนังออนไลน์ ทวิภพ - 7/12


ดูหนังออนไลน์ ทวิภพ - 8/12


ดูหนังออนไลน์ ทวิภพ - 9/12


ดูหนังออนไลน์ ทวิภพ - 10/12


ดูหนังออนไลน์ ทวิภพ - 11/12


ดูหนังออนไลน์ ทวิภพ - 12/12


บันทึกโบราณฉบับหนึ่งถูกค้นพบในคืนฟ้าคะนองที่ชานกรุงปารีส…บันทึกภาษา ฝรั่งเศสนี้ ถูกนำมาตรวจสอบยังซอร์บอนแห่งมหาวิทยาลัยปารีส มันคือ วัวอิยา บันทึกต้องห้ามที่เขียนขึ้นโดย ฟรองซัว ซาเวีย นักเดินทางและนักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส บันทึกนี้ถูกเขียนขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19

มณีจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษระดับ 6 สาขาประวัตติศาสตร์ ประจำกงศุลไทยนครปารีส ถูกเรียกตัวด่วนในคืนนั้น ในฐานะตัวแทนผู้เกี่ยวข้องกับประเทศสยาม อันเป็นที่มาของบันทึกนั้น วัวอิยา ถูกจัด ระดับความสำคัญเพียง “นิยายไร้สาระ” แต่ในความคิดของ มณีจันทร์ มันเป็นสิ่งที่น่าค้นหา …เธอได้ล่วงล้ำเข้าไปในดินแดนแห่งความลับที่ถูกกำหนดไว้จากบันทึกนี้ ดินแดนที่เธอไม่เชื่อว่าเป็นจริงเมื่อแยกจากโลกปัจจุบัน ..หญิง สาวต้องกลับประเทศไทยด้วยเหตุผลบางประการ

ที่บ้านเกิดในเมืองไทย มณีจันทร์ สับสนและแยกแยะไม่ออกว่า ตัวเธออยู่ในความเป็นจริงอันใด.. “วันนี้คืออดีตของพรุ่งนี้ ? หรือ วันนี้คืออนาคตของเมื่อวาน ?” “มณีจันทร์” จะอยู่ในตำแหน่งไหนของตัวเธอเอง หลายครั้งที่เธอคิดอยู่เสมอว่า เธอเป็นต้นเหตุของบันทึกเสียเองหรือไม่ ? และการเดินทางครั้งใหม่ของ มณีจันทร์ ก็เริ่มขึ้น

เมื่อภาวะสมดุลย์ ความจริงกึ่งฝัน นำ มณีจันทร์ สู่ดินแดนที่แปลกหน้าทีละน้อย ดินแดนนั้นคือบ้านเกิดเมืองนอนของเธอนั่นเอง แต่เธอเป็นคนแปลกหน้าของที่นั่น…เธอได้กลับไปสู่บ้านเมืองของเธอเมื่อร้อย กว่าปีที่แล้ว กลับไปสู่ “สยาม” แห่งการเริ่มต้นของอารยธรรมใหม่ กลับไปสู่ รัชสมัยพระจอมเกล้าฯ ยุคแห่งการเอาตัวให้รอดจากการล่าอาณานิคมของตะวันตก ยุคที่ต้องยอมรับว่า “ภาษาอังกฤษคือภาษาอนาคต”

มณีจันทร์ ต้องกลับไปสู่ยุคที่ชาวสยามถูกมองเป็นชาวเถื่อน ในสายตาชาติตะวันตก ..การมาถึงของมหาอำนาจอังกฤษและฝรั่งเศส เธอเข้าไปรับรู้ในเหตุการณ์ต่างๆที่ทำให้เข้าใจชนชาติและเข้าใจความเป็นมา ของ สยามมากขึ้น ..มากกว่าความคลุมเครือในประวัติศาสตร์ที่เคยร่ำเรียนมา เธอพบสิ่งเลวร้ายต่างๆที่เกิดกับบ้านเมืองของเธอในอดีต ขณะเดียวกันเธอก็ได้พบสิ่งงดงามที่ไม่เคยได้รับมาก่อน “ผู้หญิงงามที่สุดยามมีความรัก” … อัครเทพวรากร ชายสยามผู้รักชาติ สอนเธอให้รู้ว่า พรมแดนแห่งความรักอยู่ที่ใด ถ้าไม่ใช่หัวใจของตน

“มณีจันทร์” เป็นตัวแทนของคำถามที่ว่า “ถ้าคุณย้อนกลับไปในอดีต คุณอยากเห็นและอยากทำอะไร” “มณีจันทร์” ได้พบกับ นางแอนนา เลียวโนเวนส์ ครูสอนภาษาอังกฤษแห่งราชสำนักสยาม “ครูแหม่ม” ผู้อื้อฉาวคนนั้น ครูชาวอังกฤษที่เป็นต้นตำหรับ The King and I อันเป็นที่รู้จักของชาวโลก แต่บัดนี้ “ มณีจันทร์” ได้มาพูดคุยต่อหน้าเธอ

การใช้ชีวิตในโลกพิเศษสำหรับมณีจันทร์ไม่ใช่สิ่งที่ง่ายนัก รวมทั้งความรักด้วย …แต่เธอก็ใช้สิ่งที่เธอเรียนรู้มาจาก “ปัจจุบัน” ของเธอ ซึ่งเป็น “อนาคต” ของที่นั่นเข้าไปแก้ไขวิกฤตการณ์ต่างๆ ให้ลุล่วงไปได้เสมอ… เธอได้เรียนรู้ทีละน้อยว่า ในแต่ละยุคสมัยต่างทำในสิ่งที่ดีที่สุดเสมอ ความผิดพลาดเล็กๆน้อยๆ ต่อการดื้อแพ่งกับอดีต ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด บางครั้งมันอาจทำให้ส่งผลร้ายอย่างไม่คุ้มค่า บันทึกของ “ซาเวีย” เล่าว่า ครั้งหนึ่ง “หอไอเฟล” เคยเกิดขึ้นที่ริมฝั่งเจ้าพระยา…มันหมาย ความว่าอะไร มันคือความผิดพลาดเล็กๆน้อยๆ ที่ส่งผลใหญ่หลวงหรือไม่ ?

“การกลับไปได้เห็น” ของมณีจันทร์เหมือนความฝันที่มีอยู่ในตัวเราทุกคน แต่อย่างไรก็ตาม คำว่า “ไม่มีที่ไหนเหมือนบ้าน” ก็ยังเป็นสิ่งเตือนใจเสมอ ..แต่ที่ไหนล่ะคือบ้านที่แท้จริงของเธอ ? ที่ใดคือปัจจุบันของเธอ ? ความรักอยู่ที่ภพไหน ?

การเสีย ดินแดนครั้งสำคัญที่สุดในสยาม หรือ “วิกฤต ร.ศ. 112”..คือบทสุดท้ายของเรื่องราว รวมทั้งเป็นวิกฤตสำคัญของเธอด้วย เหตุการณ์ที่ปากน้ำ ใน “วิกฤต ร.ศ. 112” ทำให้มณีจันทร์ต้องเสียสละความรัก เพื่อ คงอดีตที่ถูกต้องไว้ มณีจันทร์ ได้เข้าใจว่า “ความทุกข์ที่เกิดจากความรัก ไม่ใช่เพราะมันจากไป หากแต่เพราะมันยังอยู่ต่างหาก”

ไม่มีประโยชน์อันใดที่จะเฝ้าโหยหาต่อว่าสิ่งที่ผ่านไปแล้ว การทำปัจจุบันของเธอให้ดีที่สุดคือการตอบแทนที่ดีที่สุด ทั้งต่อความรักและต่อแผ่นดินบ้านเกิดเมืองนอนของเธอ

Thai movie based on novel by Tamayanti, starring Florence, Rangsiroj, and Stephan.
Category: Entertainment
Tags: Thai Siam Renaissance Tamayanti Florence Rangsiroj Stephan
////

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

Copyright 2008 All Rights Reserved Revolution Two Church theme by Brian Gardner Converted into Blogger Template by Bloganol dot com